ขากล้องวงจรปิด และการประกอบคอมพิวเตอร์ เริ่มจากขั้นตอนแรก

การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มจากขั้นตอนแรกสำหรับการประกอบคือการติดตั้งซีพียูกับแรมเข้ากับเมนบอร์ดให้เรียบร้อย จึงนำเมนบอร์ดติดตั้งกับเคส และติดตั้งอุปกรณ์อื่นเป็นลำดับต่อไป

ในปัจจุบันซีพียู Intel ที่ได้รับความนิยมจะใช้ช็อกเก็ตแบบ LGA ซึ่งขาเข็มที่ตัวช็อกเก็ตจะมีขนาดเล็ก หากติดตั้งไม่ดีอาจส่งผลให้ขาของช็อกเก็ตเกิดการเสียหายได้ง่าย ตัวช็อกเก็ตที่วางจำหน่ายซึ่งแต่ละช็อกเก็ตมีวิธีการติดตั้งที่คล้ายกัน

ขั้นตอนการติดตั้งแผงหน่วยความจำไม่ยุ่งยากเหมือนซีพียู จุดที่ควรจะระวังจะอยู่ที่ร่องบากของแผงแรม ซึ่งแรมแต่ละประเภทต่างก็มีร่องบากที่แตกต่างกัน

โดยปกติถ้าใส่ผิดด้านก็จะไม่สามารถติดตั้งแผงแรมเข้ากับช็อกเก็ตได้พอดี ขั้นตอนในการติดตั้งแรมมีดังนี้

• วางแผงแรมลงไปที่ช็อกเก็ต โดยให้สังเกตร่องบากของแผงแรมและช็อกเก็ตให้ตรงกัน

• ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างกดแผงแรมลงไปในช็อกเก็ต โดยให้แผงแรมค่อย ๆ ถูกกดลงไปในช็อกเก็ต หากกดไม่ลงหรือแรมกดลงได้ด้านเดียว อาจจะเกิดจากการในแผงแรมผิดด้านจึงไม่ตรงกับร่องบากของช็อกเก็ต

ขั้นตอนในการติดตั้งเมนบอร์ดอาจจะมีความยุ่งยากอยู่บ้าง แต่ถ้ามีการดำเนินการติดตั้งไปตามลำดับอย่างถูกขั้นตอนก็จะพบว่า การติดตั้งนั้นไม่ได้มีความยุ่งยากอย่างที่คิดไว้

อาจจะมีบ้างตรงช่วงที่เสียบสายสวิตช์และไฟแสดงผลบริเวณหน้าเคสเข้ากับเมนบอร์ด สายที่มีขนาดเล็กและตำแหน่งในการติดตั้งบนเมนบอร์ดที่นิยมจะอยู่ตรงด้านท้าย

ตรวจสอบพื้นที่ภายในเคสว่ามีพื้นที่เพียงพอในการจัดวางเมนบอร์ดหรือไม่ เนื่องจากเคสบางตัวออกแบบมาพอดีกับเมนบอร์ด ATX ในขณะที่เมนบอร์ดบางรุ่นผลิตมาตรฐาน Full ATX รวมไปถึงเมนบอร์ดและเคสขนาดเล็ก Mini ITX ซึ่งจะมีพื้นที่การติดตั้งไม่มากนัก

• สังเกตตำแหน่งของรูนอตที่ตัวเมนบอร์ดว่าต้องใช้จำนวนนอตทั้งหมดกี่ตัว ซึ่งตามปกติเมนบอร์ด ATX จะใช้นอตประมาณ 9 ตัว และเมนบอร์ด Micro ATX จะใช้นอต 6 ตัว

• สังเกตตำแหน่งรูนอตภายในเคสว่ามีตำแหน่งครบถ้วนตามที่เมนบอร์ดต้องการหรือไม่ ถ้าตำแหน่งรูนอตที่เคสพอดีกับตำแหน่งบนเมนบอร์ดก็แสดงว่าเคสที่ซื้อมานั้นสามารถติดตั้งเมนบอร์ดรุ่นนี้ได้

การติดตั้งฐานรองโดยการใช้ขันนอตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสได้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจรของอุปกรณ์ต่าง ๆ แบนเมนบอร์ดอีกด้วย ลักษณะของฐานรองแมนบอร์ดจะมีอยู่ 2 แบบ ทั้ง 2 แบบมีวิธีการติดตั้งที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

การนำเมนบอร์ดติดตั้งในเคสตามตำแหน่งของฐานรองที่ติดตั้งเอาไว้แล้ว การติดตั้งอาจจะต้องระมัดระวังเรื่องการวางเมนบอร์ดต้องวางให้ตรงพอดี

ห้ามบิดหรือโยกตัวเมนบอร์ดในขณะที่ยกเข้าไปติดตั้งเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้วงจรบนเมนบอร์ดเกิดการเสียหายได้ การติดตั้งเมนบอร์ดเข้าไปในเคสมีวิธีดังนี้

• ค่อย ๆ นำเมนบอร์ดติดตั้งเข้าไปในเคส ตรวจดูให้ช่องต่ออุปกรณ์ด้านหลังเครื่องวางอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับช่องด้านหลังเคส

• เลือกนอตที่จะใช้ในการติดตั้งแมนบอร์ด นอตที่แถมมากับเคสจะมีอยู่ 2-3 แบบ อาจจะลองขันนอตด้วยมือว่าสามารถใช้กับฐานรองเมนบอร์ดได้พอดีหรือไม่

• ขันนนอตยึดตัวเมนบอร์ดเข้ากับเคสให้ครบทุกรู โดยขันจนแน่นพอดีเท่านั้น อย่าขันจนแน่นเกินไปเพราะอาจทำให้เมนบอร์ดเสียหายได้

• หาตำแหน่งที่ติดตั้งสายไฟบนเมนบอร์ด โดยเปิดดูจากคู่มือเมนบอร์ด เมนบอร์ดในปัจจุบันจะใช้แบบ 24 ขา และมีหัวต่อไฟ 12 โวลต์ จำนวน 4 หรือ 8 ขาเพิ่มขึ้นมาด้วย

• เสียบหัวต่อสายไฟหลัก 24 ขาเข้ากับช่องบนเมนบอร์ด โดยดูให้ตำแหน่งของตัวล็อคตรงกัน

• เสียบสายไฟ ATX 12V 4 ขาลงบนเมนบอร์ด โดยหันให้ตัวล็อคตรงกันกับช่องบนเมนบอร์ด

สวิตช์ที่ใช้ควบคุมการเปิด / ปิดเครื่อง และสวิตช์รีเซตจะอยู่บริเวณด้านหน้าเคส รวมไปถึงหลอดไฟที่แสดงสถานะว่าเครื่องทำงาน และการอ่าน / เขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะต้อง

ต่อสายสวิตช์และหลอดไฟเหล่านั้นเข้ากับเมนบอร์ดเพื่อที่จะได้สามารถควบคุมและทราบสถานการณ์ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

• เปิดคู่มือเมนบอร์ดเพื่อหาตำแหน่งและวิธีการเสียบหัวต่อบนเมนบอร์ด หัวต่ออยู่รวม ๆ กันทำให้สังเกตจากตัวอักษรที่พิมพ์บนเมนบอร์ดได้ยาก

• เสียบสายหัวต่อเข้ากับเมนบอร์ดจนครบ โดยสังเกตขั้ว + ให้ดีสำหรับหัวต่อหลอดไฟและลำโพง

Write a Comment